วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10

วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไปจะช่วยในงานและชีวิตประจำวันได้อย่างไรคุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้หลากหลายอย่าง หาอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การเขียนและการใช้ภาษา หรือว่าการจัดรูปแบบ ถ้าอ่านแล้วรู้สึกติดขัด อาจจะขัดเกลาภาษาเพิ่ม เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าควรเติมเนื้อหา คุณสามารถเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องห่วงเลยว่าจะทำให้วิกิพีเดียเสียหาย เพราะว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น เริ่มทำได้ มาช่วยกันแก้บทความ และทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในอินเทอร์เน็ตกันเถอะ ลองดูส่วนหนึ่งที่คุณช่วยวิกิพีเดียได้ในหน้า คุณช่วยเราได้ และอย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนวิกิพีเดีย — สารานุกรมที่ใครก็สามารถช่วยเขียนได้ และยิ่งไปกว่านี้ ทางเรายังสนับสนุนให้ผู้ใช้ กล้าแก้ไข
ที่มาhttp://ferinboy.exteen.com/20080128/entry

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

อาการติดวิกิพีเดีย หรือ วิกิพีดิฮอลิก (Wikipediholic) เป็นลักษณะอาการของผู้ที่ใช้เว็บเบราว์เซอร์ เปิดหน้า ปรับปรุงล่าสุด ตลอดเวลา หรืออย่างน้อยก็ รายการเฝ้าดู ลองตรวจสอบอาการของคุณได้ที่ ทดสอบอาการติดวิกิพีเดีย
โรคติดวิกิพีเดียเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อวิกิพีเดียเริ่มเปิดตัวใช้งาน ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2544 โดยเริ่มระบาดจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยเป็นอย่างมากในกลุ่ม โปรแกรมเมอร์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา คนว่างงาน และ คนที่กำลังจะว่างงาน อย่างไรก็ตามเป็นกันมากในผู้คนที่สนใจสิ่งต่างๆรอบโลกและ ยังจำมาเขียนเล่าเรื่องได้
[edit] ตรวจสอบอาการ ถ้า
คุณตรวจข้อความใน "ปรับปรุงล่าสุด" มากกว่า ตรวจอีเมลของตัวเอง
คุณดูข้อความใน "ปรับปรุงล่าสุด" มากกว่า ดูกระทู้ในพันทิปดอตคอม
ทุกคืนวันศุกร์ คุณจะนั่งหน้าคอม และเขียนวิกิพีเดีย
คุณร่วมแสดงความคิดเห็นในหน้าสภากาแฟ ในหน้าอภิปรายของบทความต่างๆ รวมทั้งในหน้าพูดคุยของผู้ใช้คนอื่น มากกว่าที่จะสื่อสารกับคนรอบข้าง ในบ้านหรือในหอพัก
เมื่อปิดเว็บเบราว์เซอร์ได้ซักพัก คุณจะต้องเปิดใหม่อีกครั้งเพื่อเช็คหน้าปรับปรุงล่าสุด
เวลาเห็นลิงก์แดงในเว็บเพจอื่น คุณจะนึกว่าหน้าที่ลิงก์ไปนั้น ยังไม่ได้ทำขึ้นมา
เมื่อคุณกำลัง ศึกษา สนใจ หรือคลั่งไคล้ เรื่องใดอยู่ คุณอดไม่ได้ที่จะนำมาเขียนไว้ในวิกิพีเดีย
ถ้าเพื่อนชวนคุณไปสังสรรค์ คุณจะตอบปฏิเสธ โดยอ้างว่า... ต้องมาเขียนวิกิพีเดีย
แฟนคุณขอเลิก เพราะเห็นคุณสนใจวิกิพีเดียมากกว่าเขา -_-"
คุณมีเรื่องราวของวิกิพีเดีย บันทึกไว้ในบล็อกหรือไดอารีส่วนตัว
คุณรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และคิดว่าชีวิตขาดอะไรไปซักอย่าง ในวันที่คุณไม่ได้เข้าวิกิพีเดีย
ใครก็ตามที่คุณรู้จัก คุณจะชวนให้มาเขียนวิกิพีเดีย
เวลาที่คุณกำลังขับรถ หรือกำลังยืนรอรถเมล์ คุณคิดถึงเรื่องวิกิพีเดีย
คุณจำชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียได้ขึ้นใจ รวมทั้งจำได้ว่าเค้าคนนั้นเขียนเรื่องอะไรบ้าง และมีสไตล์การเขียน อีกทั้งสไตล์การพูดคุย เป็นอย่างไร
เมื่อคุณอ่านมาทั้งหมดจนถึงบรรทัดนี้ คุณพบว่ามีข้อใดข้อหนึ่ง ที่ตรงใจคุณอย่างแรง ^_^
[edit] วิธีการรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดได้ มีแต่บรรเทาอาการให้ลดลง วิธีแก้ชั่วคราวเช่น
ร้องเพลง Hotel Wikipedia ใช้ทำนอง Hotel California
อาจปรุงยาเพิ่มเติม ได้จาก Wikipatch (32 kB plain text + * 2 spoons of wikisyntax + 2 glasses of NPOV + ...)
ที่มาhttp://meta.wikimedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8+

คิดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก “วิกิพีเดีย” สารานุกรมร่วมสร้างที่สร้างสรรค์โดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ที่ก่อตั้งโดยจิมมี่ เวลส์ นักธุรกิจคนหนึ่งคิดก่อตั้งมันขึ้นมาด้วยแนวคิดที่ว่าความรู้ไม่ควรจะอยู่ในแค่ตำราเรียน แต่ควรให้เราเข้าถึงได้ฟรี ส่วนตัวผมมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในยุคข้อมูลข่าวสาร ตัวเองทำเว็บของ Yahoo! อยู่ก็รู้เลยว่าถ้าเราไม่ทำให้มันเป็น Commercial ไม่มีการเปิดขายโฆษณา เว็บนั้นๆ จะอยู่ยากมาก
แน่นอนว่า “วิกิพีเดีย” ไม่สามารถที่จะติดโฆษณาใดๆ ได้ เพราะนั่นหมายถึงความน่าเชื่อถือจะไม่เหลืออีกต่อไป ดังนั้นการที่วิกิพีเดียจะอยู่ให้เราใช้งานได้ เขาจำเป็นต้องมีเงินที่จะเอาไปลงทุนกับอุปกรณ์ เซิร์ฟเวอร์ และคนอีกจำนวนมหาศาล ในฐานะ Netizen คนหนึ่ง ผมก็อยากจะขอเชิญชวนให้พวกเราบริจาคเงินให้กับวิกิพีเดียเถอะครับ ทำกันคนละเล็กละน้อยก็ช่วยทำให้ทุกๆ อย่างดีขึ้นได้ และวิกิพีเดียก็จะอยู่ให้เราชาวอินเทอร์เน็ตใช้กันต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด
ส่วนตัวปีที่แล้วผมก็บริจาค ปีนี้ก็บริจาคอีก และรู้สึกดี มีความสุขทางใจ อยากให้เพื่อนๆ ชาวอินเทอร์เน็ตไทยลองคิดซะว่าเพื่อนคนหนึ่งที่ให้ข้อมูลเรามาตลอด ตอนนี้เขากำลังลำบาก เราช่วยกันได้ก็ช่วยกันหน่อยครับ บริจาคกันวันนี้เลยนะครับ http://bit.ly/1WeOF ส่วนใครที่ไม่สะดวก ก็ไม่เป็นไรครับ ช่วยกันเขียน ช่วยกันแก้บทความต่างๆ ให้มีความสดใหม่ และเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปนะครับ
ที่มาhttp://jakrapong.com/2009/11/28/wikipedia/

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) คือสารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย คำว่า "วิกิพีเดีย" มีที่มาของชื่อการผสมคำของคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่ร่วมกันปรับปรุง และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม เว็บไซต์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเจอร์ โดยในปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก[1]
ปัจจุบัน วิกิพีเดียมีเนื้อหากว่า 9 ล้านบทความใน 272 ภาษา ประกอบด้วยข้อความกว่า 17,400 ล้านคำ เฉพาะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มีเนื้อหามากกว่า 3,000,000 เรื่อง เนื้อหาในวิกิพีเดียเกิดขึ้นโดยการร่วมเขียนจากอาสาสมัครจากทั่วโลก โดยเว็บไซต์เปิดให้ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้อย่างอิสระ ซึ่งในปัจจุบันวิกิพีเดียได้รับความนิยมเป็น 1 ใน 10 เว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก[2]
วิกิพีเดียถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องความน่าเชื่อถือและความถูกต้องอยู่เสมอ เนื่องจากวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไขโดยไม่จำเป็นต้องทำการล็อกอิน ซึ่งส่งผลให้วิกิพีเดียถูกก่อกวนได้ตลอดเวลา ไม่ว่าการใส่คำหยาบสอดแทรก การใส่ข้อความที่คลาดเคลื่อน การลบข้อมูลสำคัญออกไป รวมถึงการใส่ความเห็นลงในตัวบทความ
นอกเหนือจากการเป็นข้อมูลอ้างอิงในด้านสารานุกรมแล้ว วิกิพีเดียได้รับความสนใจจาก
สื่อมวลชน เมื่อปี 2549 นิตยสารไทม์ได้มีการกล่าวถึง "บุคคลสำคัญประจำปี" ซึ่งกล่าวออกมาว่าคือ "ตัวคุณเอง" (You) โดยอ้างถึง วิกิพีเดีย ยูทูบ และมายสเปซ ในลักษณะของการสร้างเว็บ 2.0 ซึ่งสำเร็จขึ้นได้จากการร่วมมือของบุคคลหลายล้านคนทั่วโลก[3]
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ และโซลในเกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[4วิกิพีเดียเริ่มต้นเมื่อ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยเริ่มต้นโครงการจากชื่อสารานุกรมนูพีเดียที่เขียนโดย ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาบริหารโดยโบมิส ซึ่งมี จิมมี เวลส์ เป็นผู้บริหารขณะนั้นโดยในช่วงแรกได้ใช้ลิขสิทธิ์เสรีเฉพาะของนูพีเดียเอง และภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูภายหลังจากการผลักดันของริชาร์ด สตอลล์แมน[5]

ที่มา;http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

e-journals

http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/e-jour22.htm