วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

ลักษณะเฉพาะ

วิกิพีเดียไทยที่มีการกล่าวถึงในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นเว็บไซต์
สารานุกรมออนไลน์ภาษาไทยแห่งที่สองที่ถูกสร้างขึ้น โดยก่อนหน้านี้มีสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยวิกิพีเดียมีลักษณะแตกต่างคือ เนื้อหาถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้หลายคน และแจกจ่ายได้เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในขณะที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไม่สามารถเผยแพร่ต่อได้หากไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
รูปแบบของวิกิพีเดียภาษาไทยที่แตกต่างจากวิกิพีเดียภาษาอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือ มีการย่อเข้ามาของบรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้า สอดคล้องกับลักษณะเอกสารภาษาไทย
[
แก้] ลำดับเหตุการณ์
25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 วิกิพีเดียภาษาไทยเริ่มต้น โดยมีการสร้างลิงก์ไปวิกิพีเดียภาษาอื่นไว้ที่หน้าหลักของวิกิพีเดีย
โดยเมื่อย้อนกลับไปที่
16 มีนาคม พ.ศ. 2546 มีข้อความสร้างไว้ครั้งแรกบนหน้าหลักว่า "Describe the new page here."
27 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - มีบทความแรกคือ "ดาราศาสตร์" โดยมีเนื้อหาเริ่มแรกเพียงคำว่า "ดาราศาสตร์" และต่อมามีเนื้อหาเพิ่มเติมจนนับเป็นบทความสารานุกรมในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - มีบทความสารานุกรมบทความแรกคือ "วิทยาการคอมพิวเตอร์"
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - มีหน้าโครงการหลักอื่น ๆ ได้แก่ "วิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม" และ "วิกิพีเดีย:ความช่วยเหลือ"
14 มีนาคม พ.ศ. 2549 - มีบทความ 10,000 บทความ
2 กันยายน พ.ศ. 2549 - ผู้ใช้ลงทะเบียน 10,000 บัญชี
3 มีนาคม พ.ศ. 2550 - มีผู้ใช้ลงทะเบียน 20,000 บัญชี
17 มีนาคม พ.ศ. 2550 - มีบทความ 20,000 บทความ
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - มีบทความ 25,000 บทความ ลิงก์ของวิกิพีเดียภาษาไทยจึงถูกนำกลับเข้าสู่หน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษอีกครั้ง หลังถูกนำออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 เนื่องจากมีจำนวนบทความไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - มีการแก้ไขเนื้อหา 1,000,000 ครั้ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 - มีผู้ใช้ลงทะเบียนครบ 50,000 บัญชี
26 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - มีบทความ 40,000 บทความ
27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 - มีการแก้ไขเนื้อหา 2,000,000 ครั้ง
4 กันยายน พ.ศ. 2552 - มีบทความ 50,000 บทความ
20 เมษายน พ.ศ. 2553 - มีบทความ 60,000 บทความ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาไทย เริ่มสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีบทความสารานุกรมกว่า 6 หมื่นบทความ (พฤษภาคม 2553) มีสมาชิกลงทะเบียนมากกว่า 8 หมื่นบัญชี และมีการแก้ไขเนื้อหามากกว่า 2 ล้านครั้ง
วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยให้ความนิยมอย่างมาก จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยโดย มนัสชล หิรัญรัตน์ เมื่อ พ.ศ. 2550 พบว่าประมาณร้อยละ 80 เข้าใช้วิกิพีเดียภาษาไทยอย่างน้อยเดือนละครั้ง และประมาณร้อยละ 27 เคยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหา

ข้าวไทยกับเทคโนโลยีใหม่"ไม่ต้องหุง"

เปิดตัว ‘ข้าวไม่ต้องหุง’ แช่น้ำก็กินได้ของไทย
กรมการข้าวโชว์งานวิจัย ‘ข้าวไม่ต้องหุง’ เผยแค่แช่20นาทีก็ทานได้ ประหยัดพลังงาน-ใช้อุปกรณ์น้อย เหมาะกับนักเดินทางชั่วโมงเร่งรีบ
นางสำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ได้ดำเนินการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว โดยใช้ข้าวเปลือก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ105 กข39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ ภายใต้กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวนึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสีให้เป็นข้าวสาร เมื่อต้องการบริโภคจะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุกพร้อมบริโภคเรียกว่า ข้าวไม่ต้องหุง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วในการบริโภคข้าว เนื่องจากสามารถพกพาติดตัวไปในสถานที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ นักเดินป่า หรือกรณีรถติดบนถนนเป็นเวลานานๆ เพราะใช้อุปกรณ์การหุงน้อยชิ้นและที่สำคัญประหยัดพลังงานในการทำให้สุกด้วย รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการบริโภคข้าวไม่ต้องหุง ไม่มีความยุ่งยากแถมยังสะดวกและรวดเร็วอีกด้วย เพียงแค่แช่น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเชียส หรือน้ำเดือดอัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ส่วน หรือมากกว่าเล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 1.5 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ผู้บริโภคสามารถนำไปรับประทานได้ทันที เหมือนกับข้าวสุกที่ผ่านวิธีการหุงตามปกติ แต่หากไม่มีน้ำร้อนสามารถแช่ในน้ำเย็นอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสได้โดยต้องแช่น้ำทิ้งไว้นาน 45 นาทีสามารถรับประทานได้เช่นกัน นางสำลี กล่าว หากผู้บริโภคที่ไม่มีความคุ้นเคยในการบริโภคข้าวไม่ต้องหุงที่ใช้วิธีการแช่น้ำ เพราะข้าวจะมีลักษณะร่วน ผู้บริโภคยังสามารถนำข้าวไม่ต้องหุงนี้ มาหุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในอัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1.25 ส่วน ใช้เวลา 15 นาทีซึ่งจะได้ข้าวสุกที่มีความนุ่มเช่นเดียวกับข้าวสุกทั่วไป

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553