วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10

วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไปจะช่วยในงานและชีวิตประจำวันได้อย่างไรคุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้หลากหลายอย่าง หาอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การเขียนและการใช้ภาษา หรือว่าการจัดรูปแบบ ถ้าอ่านแล้วรู้สึกติดขัด อาจจะขัดเกลาภาษาเพิ่ม เมื่ออ่านแล้วรู้สึกว่าควรเติมเนื้อหา คุณสามารถเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย และไม่ต้องห่วงเลยว่าจะทำให้วิกิพีเดียเสียหาย เพราะว่าทุกอย่างสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้น เริ่มทำได้ มาช่วยกันแก้บทความ และทำให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดในอินเทอร์เน็ตกันเถอะ ลองดูส่วนหนึ่งที่คุณช่วยวิกิพีเดียได้ในหน้า คุณช่วยเราได้ และอย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนวิกิพีเดีย — สารานุกรมที่ใครก็สามารถช่วยเขียนได้ และยิ่งไปกว่านี้ ทางเรายังสนับสนุนให้ผู้ใช้ กล้าแก้ไข
ที่มาhttp://ferinboy.exteen.com/20080128/entry

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

อาการติดวิกิพีเดีย หรือ วิกิพีดิฮอลิก (Wikipediholic) เป็นลักษณะอาการของผู้ที่ใช้เว็บเบราว์เซอร์ เปิดหน้า ปรับปรุงล่าสุด ตลอดเวลา หรืออย่างน้อยก็ รายการเฝ้าดู ลองตรวจสอบอาการของคุณได้ที่ ทดสอบอาการติดวิกิพีเดีย
โรคติดวิกิพีเดียเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อวิกิพีเดียเริ่มเปิดตัวใช้งาน ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2544 โดยเริ่มระบาดจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยเป็นอย่างมากในกลุ่ม โปรแกรมเมอร์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา คนว่างงาน และ คนที่กำลังจะว่างงาน อย่างไรก็ตามเป็นกันมากในผู้คนที่สนใจสิ่งต่างๆรอบโลกและ ยังจำมาเขียนเล่าเรื่องได้
[edit] ตรวจสอบอาการ ถ้า
คุณตรวจข้อความใน "ปรับปรุงล่าสุด" มากกว่า ตรวจอีเมลของตัวเอง
คุณดูข้อความใน "ปรับปรุงล่าสุด" มากกว่า ดูกระทู้ในพันทิปดอตคอม
ทุกคืนวันศุกร์ คุณจะนั่งหน้าคอม และเขียนวิกิพีเดีย
คุณร่วมแสดงความคิดเห็นในหน้าสภากาแฟ ในหน้าอภิปรายของบทความต่างๆ รวมทั้งในหน้าพูดคุยของผู้ใช้คนอื่น มากกว่าที่จะสื่อสารกับคนรอบข้าง ในบ้านหรือในหอพัก
เมื่อปิดเว็บเบราว์เซอร์ได้ซักพัก คุณจะต้องเปิดใหม่อีกครั้งเพื่อเช็คหน้าปรับปรุงล่าสุด
เวลาเห็นลิงก์แดงในเว็บเพจอื่น คุณจะนึกว่าหน้าที่ลิงก์ไปนั้น ยังไม่ได้ทำขึ้นมา
เมื่อคุณกำลัง ศึกษา สนใจ หรือคลั่งไคล้ เรื่องใดอยู่ คุณอดไม่ได้ที่จะนำมาเขียนไว้ในวิกิพีเดีย
ถ้าเพื่อนชวนคุณไปสังสรรค์ คุณจะตอบปฏิเสธ โดยอ้างว่า... ต้องมาเขียนวิกิพีเดีย
แฟนคุณขอเลิก เพราะเห็นคุณสนใจวิกิพีเดียมากกว่าเขา -_-"
คุณมีเรื่องราวของวิกิพีเดีย บันทึกไว้ในบล็อกหรือไดอารีส่วนตัว
คุณรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และคิดว่าชีวิตขาดอะไรไปซักอย่าง ในวันที่คุณไม่ได้เข้าวิกิพีเดีย
ใครก็ตามที่คุณรู้จัก คุณจะชวนให้มาเขียนวิกิพีเดีย
เวลาที่คุณกำลังขับรถ หรือกำลังยืนรอรถเมล์ คุณคิดถึงเรื่องวิกิพีเดีย
คุณจำชื่อผู้ใช้ในวิกิพีเดียได้ขึ้นใจ รวมทั้งจำได้ว่าเค้าคนนั้นเขียนเรื่องอะไรบ้าง และมีสไตล์การเขียน อีกทั้งสไตล์การพูดคุย เป็นอย่างไร
เมื่อคุณอ่านมาทั้งหมดจนถึงบรรทัดนี้ คุณพบว่ามีข้อใดข้อหนึ่ง ที่ตรงใจคุณอย่างแรง ^_^
[edit] วิธีการรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดได้ มีแต่บรรเทาอาการให้ลดลง วิธีแก้ชั่วคราวเช่น
ร้องเพลง Hotel Wikipedia ใช้ทำนอง Hotel California
อาจปรุงยาเพิ่มเติม ได้จาก Wikipatch (32 kB plain text + * 2 spoons of wikisyntax + 2 glasses of NPOV + ...)
ที่มาhttp://meta.wikimedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8+

คิดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก “วิกิพีเดีย” สารานุกรมร่วมสร้างที่สร้างสรรค์โดยมูลนิธิวิกิมีเดีย ที่ก่อตั้งโดยจิมมี่ เวลส์ นักธุรกิจคนหนึ่งคิดก่อตั้งมันขึ้นมาด้วยแนวคิดที่ว่าความรู้ไม่ควรจะอยู่ในแค่ตำราเรียน แต่ควรให้เราเข้าถึงได้ฟรี ส่วนตัวผมมีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในยุคข้อมูลข่าวสาร ตัวเองทำเว็บของ Yahoo! อยู่ก็รู้เลยว่าถ้าเราไม่ทำให้มันเป็น Commercial ไม่มีการเปิดขายโฆษณา เว็บนั้นๆ จะอยู่ยากมาก
แน่นอนว่า “วิกิพีเดีย” ไม่สามารถที่จะติดโฆษณาใดๆ ได้ เพราะนั่นหมายถึงความน่าเชื่อถือจะไม่เหลืออีกต่อไป ดังนั้นการที่วิกิพีเดียจะอยู่ให้เราใช้งานได้ เขาจำเป็นต้องมีเงินที่จะเอาไปลงทุนกับอุปกรณ์ เซิร์ฟเวอร์ และคนอีกจำนวนมหาศาล ในฐานะ Netizen คนหนึ่ง ผมก็อยากจะขอเชิญชวนให้พวกเราบริจาคเงินให้กับวิกิพีเดียเถอะครับ ทำกันคนละเล็กละน้อยก็ช่วยทำให้ทุกๆ อย่างดีขึ้นได้ และวิกิพีเดียก็จะอยู่ให้เราชาวอินเทอร์เน็ตใช้กันต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด
ส่วนตัวปีที่แล้วผมก็บริจาค ปีนี้ก็บริจาคอีก และรู้สึกดี มีความสุขทางใจ อยากให้เพื่อนๆ ชาวอินเทอร์เน็ตไทยลองคิดซะว่าเพื่อนคนหนึ่งที่ให้ข้อมูลเรามาตลอด ตอนนี้เขากำลังลำบาก เราช่วยกันได้ก็ช่วยกันหน่อยครับ บริจาคกันวันนี้เลยนะครับ http://bit.ly/1WeOF ส่วนใครที่ไม่สะดวก ก็ไม่เป็นไรครับ ช่วยกันเขียน ช่วยกันแก้บทความต่างๆ ให้มีความสดใหม่ และเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปนะครับ
ที่มาhttp://jakrapong.com/2009/11/28/wikipedia/

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) คือสารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย คำว่า "วิกิพีเดีย" มีที่มาของชื่อการผสมคำของคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่ร่วมกันปรับปรุง และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม เว็บไซต์ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์ และ แลร์รี แซงเจอร์ โดยในปัจจุบันวิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก[1]
ปัจจุบัน วิกิพีเดียมีเนื้อหากว่า 9 ล้านบทความใน 272 ภาษา ประกอบด้วยข้อความกว่า 17,400 ล้านคำ เฉพาะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มีเนื้อหามากกว่า 3,000,000 เรื่อง เนื้อหาในวิกิพีเดียเกิดขึ้นโดยการร่วมเขียนจากอาสาสมัครจากทั่วโลก โดยเว็บไซต์เปิดให้ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้อย่างอิสระ ซึ่งในปัจจุบันวิกิพีเดียได้รับความนิยมเป็น 1 ใน 10 เว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก[2]
วิกิพีเดียถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องความน่าเชื่อถือและความถูกต้องอยู่เสมอ เนื่องจากวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไขโดยไม่จำเป็นต้องทำการล็อกอิน ซึ่งส่งผลให้วิกิพีเดียถูกก่อกวนได้ตลอดเวลา ไม่ว่าการใส่คำหยาบสอดแทรก การใส่ข้อความที่คลาดเคลื่อน การลบข้อมูลสำคัญออกไป รวมถึงการใส่ความเห็นลงในตัวบทความ
นอกเหนือจากการเป็นข้อมูลอ้างอิงในด้านสารานุกรมแล้ว วิกิพีเดียได้รับความสนใจจาก
สื่อมวลชน เมื่อปี 2549 นิตยสารไทม์ได้มีการกล่าวถึง "บุคคลสำคัญประจำปี" ซึ่งกล่าวออกมาว่าคือ "ตัวคุณเอง" (You) โดยอ้างถึง วิกิพีเดีย ยูทูบ และมายสเปซ ในลักษณะของการสร้างเว็บ 2.0 ซึ่งสำเร็จขึ้นได้จากการร่วมมือของบุคคลหลายล้านคนทั่วโลก[3]
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ และโซลในเกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[4วิกิพีเดียเริ่มต้นเมื่อ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 โดยเริ่มต้นโครงการจากชื่อสารานุกรมนูพีเดียที่เขียนโดย ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาบริหารโดยโบมิส ซึ่งมี จิมมี เวลส์ เป็นผู้บริหารขณะนั้นโดยในช่วงแรกได้ใช้ลิขสิทธิ์เสรีเฉพาะของนูพีเดียเอง และภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูภายหลังจากการผลักดันของริชาร์ด สตอลล์แมน[5]

ที่มา;http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

e-journals

http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/e-jour22.htm

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

ช่วงบ่ายที่ผ่านมาได้เข้าไปที่เว็บของ วิกิพีเดีย
ในหมวดหมู่ "กลุ่มดนตรีสัญชาติไทย" และ "นักร้องไทย"
เพื่อเข้าไปดูว่ามีใครมาอัพเดทอะไรใหม่ ๆ บ้าง เพื่อจะนำ "ข้อมูลดิบ" ที่ตัวเองไม่มี
มาใช้ประกอบในการเขียนถึงนักร้องหรือวงดนตรีที่ยังไม่ได้เขียนถึง

พบว่าหลาย ๆ เรื่องมีการนำเนื้อหาจากเอนทรีของผมในบล็อกไปโพสท์ตรง ๆ
บางเรื่องก็หยิบยืมบางส่วนใช้ และได้กรุณาให้เครดิตทำลิ๊งค์เชื่อมโยงมาที่บล็อกของผม
แต่ก็พบว่าในหลายเรื่องนำเนื้อหาและภาพไปใช้โดยไม่ได้บอกกล่าวที่มา

โดยส่วนตัวแล้วมิได้หวงแหนเนื้อหาและภาพในบล็อกแต่อย่างใด
เพราะเขียนด้วยความรักในเรื่องที่เขียน
บางเรื่องเขียนได้ลึกหน่อย บางเรื่องก็ผิวเผิน
แต่ทุกเรื่องที่เขียนเองก็จะทำการบ้านมาระดับหนึ่ง
เรื่องใดไม่ได้เขียนเองก็จะอ้างแหล่งที่มา เช่นในหมวดของ "เรวัต พุทธินันทน์"
เรื่องใดเขียนขึ้นใหม่โดยใช้ข้อมูลจากที่อื่นก็จะอ้างถึงแหล่งที่มา
ภาพประกอบต่าง ๆ เกินกว่าร้อยละเก้าสิบห้า
เป็นการสแกนจากวัตถุดิบในกรุของตัวเองอันนี้ก็ไม่ได้หวง

แต่ตอนนี้เริ่ม alert ขึ้นมาว่าถ้าคนไม่รู้จักบล็อกของผมมาก่อน
แล้วได้มาอ่านบล็อกนี้ทีหลัง อาจจะเข้าใจได้ว่าผมไปก็อปปี้วิกิพีเดียมา
คือ
copy และ paste
ลงบล็อกตัวเองเท่านั้น
จึงขอความกรุณาทุกท่านที่นำเรื่องของผมไปลงในวิกิพีเดีย
อ้างแหล่งที่มาก็จะขอขอบพระคุณอย่างสูง

ขอบคุณอีกครั้ง

ที่มา oknation.not

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 5

เวอร์จิล กริฟฟิธ จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และเป็นแฮกเกอร์ เป็นผู้คิดค้นโปรแกรมวิกิสแกนเนอร์ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ให้และแก้ไขข้อมูลวิกิพีเดียซึ่งโปรแกรมของเขาสามารถจับ ไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้แก้ข้อมูลได้ว่า ผู้ที่แก้ข้อมูลในวิกิพีเดียมีทั้งซีไอเอ สำนักวาติกัน และนักการเมือง

สำหรับซีไอเอหรือหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐเป็นผู้แก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดียกว่า 300 เรื่อง ทั้งเรื่องของประธานาธิบดีอิหร่าน กองทัพเรืออาร์เจนตินา และอาวุธนิวเคลียร์ของจีน ซึ่งซีไอเอได้ให้ข้อมูลแผนการในอนาคตในการครองอำนาจของประธานาธิบดีมาห์มู้ด อาห์มาดีนจาด ของอิหร่าน ไว้ด้วย

วิกิสแกนเนอร์ยังพบว่า คอมพิวเตอร์ของวาติกันนำข้อมูลที่เชื่อมโยง นายเจอรี่ อดัมส์ ผู้นำกลุ่มซินเฟนของไอร์แลนด์และการฆาตกรรมออกไป

นอกจากนี้แล้วยังมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งในพรรคเดโมแครต เปลี่ยนคำจำกัดความของนายรัช ลิมโบห์นักจัดรายการวิทยุชื่อดังจากตลก เป็นคำว่า ดันทุรัง และเห็นว่าผู้ที่ฟังรัช ลิมโบห์ เป็นคนปัญญาอ่อน นายดัฟ ธอร์นเนล โฆษกเดโมแครต กล่าวแต่เพียงว่า ไม่ทราบและคอมพิวเตอร์ของเดโมแครตทำงานด้วยความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์จากพรรครีพับลิกัน เปลี่ยนคำว่า กองกำลังที่เข้าครอบครองเป็นกองกำลังปลดปล่อยเพื่อเสรีภาพ เมื่อเข้าไปค้นหาว่า พรรคบาธ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคำนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพสหรัฐบุกอิรัก

อย่างไรก็ตามยังมีคอมพิวเตอร์ของสหประชาชาติเป็นผู้แก้ไขข้อมูล โดยเรียกนักข่าวอิตาเลียนว่า คนหัวรุนแรงไม่เลือกที่ ส่วนคอมพิวเตอร์ของวุฒิสภาสหรัฐ เปลี่ยนแฟ้มประวัติของ เฮเลน โธมัส นักข่าวประจำทำเนียบประธานาธิบดีว่า เป็นคนที่ชอบขัดจังหวะและน่ารำคาญ คอมพิวเตอร์ของบีบีซีเปลี่ยนชื่อกลางของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จาก วอล์กเกอร์ เป็น แวงเกอร์ คอมพิวเตอร์ของรอยเตอร์เติมคำว่า ฆาตกรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ลงไปในประวัติของบุช


ผู้ชายคนนี้เป็นแฮกเกอร์และผู้คิดค้นโปรแกรมขึ้นมาตรวจสอบการแก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดีย ซึ่งมีทั้งซีไอเอและนักการเมือง

เวอร์จิล กริฟฟิธ จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และเป็นแฮกเกอร์ เป็นผู้คิดค้นโปรแกรมวิกิสแกนเนอร์ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ให้และแก้ไขข้อมูลวิกิพีเดียซึ่งโปรแกรมของเขาสามารถจับ ไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้แก้ข้อมูลได้ว่า ผู้ที่แก้ข้อมูลในวิกิพีเดียมีทั้งซีไอเอ สำนักวาติกัน และนักการเมือง

สำหรับซีไอเอหรือหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐเป็นผู้แก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดียกว่า 300 เรื่อง ทั้งเรื่องของประธานาธิบดีอิหร่าน กองทัพเรืออาร์เจนตินา และอาวุธนิวเคลียร์ของจีน ซึ่งซีไอเอได้ให้ข้อมูลแผนการในอนาคตในการครองอำนาจของประธานาธิบดีมาห์มู้ด อาห์มาดีนจาด ของอิหร่าน ไว้ด้วย

วิกิสแกนเนอร์ยังพบว่า คอมพิวเตอร์ของวาติกันนำข้อมูลที่เชื่อมโยง นายเจอรี่ อดัมส์ ผู้นำกลุ่มซินเฟนของไอร์แลนด์และการฆาตกรรมออกไป

นอกจากนี้แล้วยังมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งในพรรคเดโมแครต เปลี่ยนคำจำกัดความของนายรัช ลิมโบห์นักจัดรายการวิทยุชื่อดังจากตลก เป็นคำว่า ดันทุรัง และเห็นว่าผู้ที่ฟังรัช ลิมโบห์ เป็นคนปัญญาอ่อน นายดัฟ ธอร์นเนล โฆษกเดโมแครต กล่าวแต่เพียงว่า ไม่ทราบและคอมพิวเตอร์ของเดโมแครตทำงานด้วยความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์จากพรรครีพับลิกัน เปลี่ยนคำว่า กองกำลังที่เข้าครอบครองเป็นกองกำลังปลดปล่อยเพื่อเสรีภาพ เมื่อเข้าไปค้นหาว่า พรรคบาธ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคำนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพสหรัฐบุกอิรัก

อย่างไรก็ตามยังมีคอมพิวเตอร์ของสหประชาชาติเป็นผู้แก้ไขข้อมูล โดยเรียกนักข่าวอิตาเลียนว่า คนหัวรุนแรงไม่เลือกที่ ส่วนคอมพิวเตอร์ของวุฒิสภาสหรัฐ เปลี่ยนแฟ้มประวัติของ เฮเลน โธมัส นักข่าวประจำทำเนียบประธานาธิบดีว่า เป็นคนที่ชอบขัดจังหวะและน่ารำคาญ คอมพิวเตอร์ของบีบีซีเปลี่ยนชื่อกลางของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จาก วอล์กเกอร์ เป็น แวงเกอร์ คอมพิวเตอร์ของรอยเตอร์เติมคำว่า ฆาตกรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ลงไปในประวัติของบุช


เวอร์จิล กริฟฟิธ จบการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และเป็นแฮกเกอร์ เป็นผู้คิดค้นโปรแกรมวิกิสแกนเนอร์ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ให้และแก้ไขข้อมูลวิกิพีเดียซึ่งโปรแกรมของเขาสามารถจับ ไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้แก้ข้อมูลได้ว่า ผู้ที่แก้ข้อมูลในวิกิพีเดียมีทั้งซีไอเอ สำนักวาติกัน และนักการเมือง

สำหรับซีไอเอหรือหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐเป็นผู้แก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดียกว่า 300 เรื่อง ทั้งเรื่องของประธานาธิบดีอิหร่าน กองทัพเรืออาร์เจนตินา และอาวุธนิวเคลียร์ของจีน ซึ่งซีไอเอได้ให้ข้อมูลแผนการในอนาคตในการครองอำนาจของประธานาธิบดีมาห์มู้ด อาห์มาดีนจาด ของอิหร่าน ไว้ด้วย

วิกิสแกนเนอร์ยังพบว่า คอมพิวเตอร์ของวาติกันนำข้อมูลที่เชื่อมโยง นายเจอรี่ อดัมส์ ผู้นำกลุ่มซินเฟนของไอร์แลนด์และการฆาตกรรมออกไป

นอกจากนี้แล้วยังมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งในพรรคเดโมแครต เปลี่ยนคำจำกัดความของนายรัช ลิมโบห์นักจัดรายการวิทยุชื่อดังจากตลก เป็นคำว่า ดันทุรัง และเห็นว่าผู้ที่ฟังรัช ลิมโบห์ เป็นคนปัญญาอ่อน นายดัฟ ธอร์นเนล โฆษกเดโมแครต กล่าวแต่เพียงว่า ไม่ทราบและคอมพิวเตอร์ของเดโมแครตทำงานด้วยความรับผิดชอบ เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์จากพรรครีพับลิกัน เปลี่ยนคำว่า กองกำลังที่เข้าครอบครองเป็นกองกำลังปลดปล่อยเพื่อเสรีภาพ เมื่อเข้าไปค้นหาว่า พรรคบาธ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคำนี้มีขึ้นหลังจากกองทัพสหรัฐบุกอิรัก

อย่างไรก็ตามยังมีคอมพิวเตอร์ของสหประชาชาติเป็นผู้แก้ไขข้อมูล โดยเรียกนักข่าวอิตาเลียนว่า คนหัวรุนแรงไม่เลือกที่ ส่วนคอมพิวเตอร์ของวุฒิสภาสหรัฐ เปลี่ยนแฟ้มประวัติของ เฮเลน โธมัส นักข่าวประจำทำเนียบประธานาธิบดีว่า เป็นคนที่ชอบขัดจังหวะและน่ารำคาญ คอมพิวเตอร์ของบีบีซีเปลี่ยนชื่อกลางของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จาก วอล์กเกอร์ เป็น แวงเกอร์ คอมพิวเตอร์ของรอยเตอร์เติมคำว่า ฆาตกรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ลงไปในประวัติของบุช

ที่มา http://www.voicetv.co.th/

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 4

วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาไทย เริ่มสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีบทความสารานุกรมกว่า 6 หมื่นบทความ (พฤษภาคม 2553) มีสมาชิกลงทะเบียนมากกว่า 8 หมื่นบัญชี และมีการแก้ไขเนื้อหามากกว่า 2 ล้านครั้ง

วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยให้ความนิยมอย่างมาก จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยโดย มนัสชล หิรัญรัตน์ เมื่อ พ.ศ. 2550 พบว่าประมาณร้อยละ 80 เข้าใช้วิกิพีเดียภาษาไทยอย่างน้อยเดือนละครั้ง และประมาณร้อยละ 27 เคยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหา[1]

ที่มาhttp//wapedia.mobi

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 3

FBI เปิดศึกวิกิพีเดีย?
4 Aug 2010 - 07:31

เกิดศึกโต้เถียงกันเล็กน้อย ระหว่างสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม FBI กับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย เกี่ยวกับการใช้ภาพตราของสำนักงานในหน้าบทความของวิกิพีเดีย

เมื่อเดือนที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลางได้ส่งจดหมายไปยังมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลสารานุกรมวิกิพีเดีย ให้นำภาพตราของเอฟบีไอ ออกจากหน้าบทความในสารานุกรม โดยขู่ที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม (ดูไฟล์จดหมายได้จากที่มา)

อย่างไรก็ตาม วิกิมีเดียได้ตอบโต้ว่า กฎหมายที่ถูกนำมาอ้างถึงนั้น เกี่ยวข้องกับการห้ามนำตราปลอมไปใช้แสดงตัวหรือหาประโยชน์ต่างหาก และเว็บไซต์อื่นๆ ก็แสดงตราแบบนี้เหมือนกัน รวมถึงสารานุกรมบริทานิกาด้วย ผู้บริหารวิกิมีเดียกล่าวว่า พร้อมที่จะโต้แย้งเรื่องนี้ในชั้นศาล

ด้านโฆษกของเอฟบีไอกล่าวว่า มีการส่งจดหมายลักษณะนี้อยู่เป็นระยะๆ อยู่แล้ว และตามกฎหมายแล้ว ใครก็ตามไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเอฟบีไอ

ด้านผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายของ Electronic Frontier Foundation (EFF – องค์กรที่เรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพในโลกดิจิทัล) บอกว่านี่เป็นเรื่องงี่เง่ามาก และวิกิพีเดียก็มีสิทธิตาม First Amendment (บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก) ที่จะแสดงตรานี้ นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า เอฟบีไอน่าจะมีอะไรที่สำคัญกว่านี้ทำแน่ๆ

ที่มาThe New York Times

ส่งงาน E-books

หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านข้

ปีที่2 ฉบับที่5 ตุลาคม 2552 • Website: http//www.dss.go.th • E-mail: sarabun@dss .go.th • ISSN 1906-3083. หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านข้าวหอม ...
letter_2552_2_5.pdf - book search หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านข้

ที่มา

“วิจัยข้าว เพื่อชาวนาไทย ก้าวไกลทันโลก”

4 มิ.ย. 2010 ... การสารวจคุณภาพทางกายภาพของข้าวหอมมะลิจากแปลงเกษตรกร. ❖ นางสาวกัญญา เชื้อพันธุ์. 15. ข้าวไม่ต้องหุง ❖ นายสกุล มูลคา ...
pb53.pdf?4f0083583febab34b6c94d59fe5684c8=5d5fec70da840642f26a9cdbfc0bc1bf - book search “วิจัยข้าว เพื่อชาวนาไทย ก้าวไกลทันโลก”

ที่มา

ข้าวไทยในตลาดจีน สํานักงานส่งเสริมการค้าระห

กิโลกรัม/คน/ปี ศาดว่าในขณะนึ้ธัญพืชคงคลังมี^ารองเพื่อการบริโภคไม่น้อยกว่า 100 วัน เป็นข้าวคุณภาพต°า จีนมีการนําเข้าเเละส่งออกข้าว ...
53000689.pdf - book search ข้าวไทยในตลาดจีน สํานักงานส่งเสริมการค้าระห

ที่มา


วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

ลักษณะเฉพาะ

วิกิพีเดียไทยที่มีการกล่าวถึงในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นเว็บไซต์
สารานุกรมออนไลน์ภาษาไทยแห่งที่สองที่ถูกสร้างขึ้น โดยก่อนหน้านี้มีสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยวิกิพีเดียมีลักษณะแตกต่างคือ เนื้อหาถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้หลายคน และแจกจ่ายได้เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในขณะที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไม่สามารถเผยแพร่ต่อได้หากไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
รูปแบบของวิกิพีเดียภาษาไทยที่แตกต่างจากวิกิพีเดียภาษาอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือ มีการย่อเข้ามาของบรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้า สอดคล้องกับลักษณะเอกสารภาษาไทย
[
แก้] ลำดับเหตุการณ์
25 ธันวาคม พ.ศ. 2546 วิกิพีเดียภาษาไทยเริ่มต้น โดยมีการสร้างลิงก์ไปวิกิพีเดียภาษาอื่นไว้ที่หน้าหลักของวิกิพีเดีย
โดยเมื่อย้อนกลับไปที่
16 มีนาคม พ.ศ. 2546 มีข้อความสร้างไว้ครั้งแรกบนหน้าหลักว่า "Describe the new page here."
27 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - มีบทความแรกคือ "ดาราศาสตร์" โดยมีเนื้อหาเริ่มแรกเพียงคำว่า "ดาราศาสตร์" และต่อมามีเนื้อหาเพิ่มเติมจนนับเป็นบทความสารานุกรมในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - มีบทความสารานุกรมบทความแรกคือ "วิทยาการคอมพิวเตอร์"
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 - มีหน้าโครงการหลักอื่น ๆ ได้แก่ "วิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม" และ "วิกิพีเดีย:ความช่วยเหลือ"
14 มีนาคม พ.ศ. 2549 - มีบทความ 10,000 บทความ
2 กันยายน พ.ศ. 2549 - ผู้ใช้ลงทะเบียน 10,000 บัญชี
3 มีนาคม พ.ศ. 2550 - มีผู้ใช้ลงทะเบียน 20,000 บัญชี
17 มีนาคม พ.ศ. 2550 - มีบทความ 20,000 บทความ
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - มีบทความ 25,000 บทความ ลิงก์ของวิกิพีเดียภาษาไทยจึงถูกนำกลับเข้าสู่หน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษอีกครั้ง หลังถูกนำออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 เนื่องจากมีจำนวนบทความไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - มีการแก้ไขเนื้อหา 1,000,000 ครั้ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 - มีผู้ใช้ลงทะเบียนครบ 50,000 บัญชี
26 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - มีบทความ 40,000 บทความ
27 มิถุนายน พ.ศ. 2552 - มีการแก้ไขเนื้อหา 2,000,000 ครั้ง
4 กันยายน พ.ศ. 2552 - มีบทความ 50,000 บทความ
20 เมษายน พ.ศ. 2553 - มีบทความ 60,000 บทความ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่1

วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาไทย เริ่มสร้างเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ปัจจุบันมีบทความสารานุกรมกว่า 6 หมื่นบทความ (พฤษภาคม 2553) มีสมาชิกลงทะเบียนมากกว่า 8 หมื่นบัญชี และมีการแก้ไขเนื้อหามากกว่า 2 ล้านครั้ง
วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยให้ความนิยมอย่างมาก จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยโดย มนัสชล หิรัญรัตน์ เมื่อ พ.ศ. 2550 พบว่าประมาณร้อยละ 80 เข้าใช้วิกิพีเดียภาษาไทยอย่างน้อยเดือนละครั้ง และประมาณร้อยละ 27 เคยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหา

ข้าวไทยกับเทคโนโลยีใหม่"ไม่ต้องหุง"

เปิดตัว ‘ข้าวไม่ต้องหุง’ แช่น้ำก็กินได้ของไทย
กรมการข้าวโชว์งานวิจัย ‘ข้าวไม่ต้องหุง’ เผยแค่แช่20นาทีก็ทานได้ ประหยัดพลังงาน-ใช้อุปกรณ์น้อย เหมาะกับนักเดินทางชั่วโมงเร่งรีบ
นางสำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ได้ดำเนินการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว โดยใช้ข้าวเปลือก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ105 กข39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ ภายใต้กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวนึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสีให้เป็นข้าวสาร เมื่อต้องการบริโภคจะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุกพร้อมบริโภคเรียกว่า ข้าวไม่ต้องหุง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วในการบริโภคข้าว เนื่องจากสามารถพกพาติดตัวไปในสถานที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ นักเดินป่า หรือกรณีรถติดบนถนนเป็นเวลานานๆ เพราะใช้อุปกรณ์การหุงน้อยชิ้นและที่สำคัญประหยัดพลังงานในการทำให้สุกด้วย รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีการบริโภคข้าวไม่ต้องหุง ไม่มีความยุ่งยากแถมยังสะดวกและรวดเร็วอีกด้วย เพียงแค่แช่น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเชียส หรือน้ำเดือดอัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ส่วน หรือมากกว่าเล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 1.5 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ผู้บริโภคสามารถนำไปรับประทานได้ทันที เหมือนกับข้าวสุกที่ผ่านวิธีการหุงตามปกติ แต่หากไม่มีน้ำร้อนสามารถแช่ในน้ำเย็นอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสได้โดยต้องแช่น้ำทิ้งไว้นาน 45 นาทีสามารถรับประทานได้เช่นกัน นางสำลี กล่าว หากผู้บริโภคที่ไม่มีความคุ้นเคยในการบริโภคข้าวไม่ต้องหุงที่ใช้วิธีการแช่น้ำ เพราะข้าวจะมีลักษณะร่วน ผู้บริโภคยังสามารถนำข้าวไม่ต้องหุงนี้ มาหุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในอัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1.25 ส่วน ใช้เวลา 15 นาทีซึ่งจะได้ข้าวสุกที่มีความนุ่มเช่นเดียวกับข้าวสุกทั่วไป

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553